ค้นหาบล็อกนี้

วันจันทร์ที่ 28 มิถุนายน พ.ศ. 2553

การบ้านฟิสิกส์ออนไลน์ครั้งที่ 1

จากคลิปอธิบายได้ว่า

การเคลื่อนที่แนวตรงนั้นเป็นการเคลื่อนที่ 1 มิติและ 2 มิติ การเคลื่อนที่ 1 มิติ คือการเคลื่อนที่ 1 ครั้ง จะเคลื่อนที่ไปในทางทิศเดียวกันเท่านั้นจะไม่สามารถเคลื่อนที่ไปในสองทิศทางพร้อมๆกัน ส่วนการเคลื่อนที่ 2 มิตินั้นเป็นการเคลื่อนที่ที่ไม่จำเป็นต้องเป็นเส้นตรงเสมออาจเป็นเคลื่อนแบบวงกลมหรือแนวโค้งก็ได้และยังกล่าวถึงปริมาณเวกเตอร์และปริมาณสเกล่าร์

ปริมาณเวกเตอร์ คือ ปริมาณที่ต้องบอกทั้งขนาดและทิศทาง จึงจะได้ความหมายสมบูรณ์ เช่น การกระจัด ความเร่ง ความเร็ว แรง โมเมนตัม เป็นต้น การหาผลลัพธ์ของปริมาณเวกเตอร์ต้องอาศัยวิธีการทางเวกเตอร์โดยต้องหาผลลัพธ์ทั้งขนาดและทิศทาง

ปริมาณสเกล่าร์ คือ ปริมาณที่บอกแต่ขนาดอย่างเดียวก็ได้ความหมายสมบูรณ์ ไม่ต้องบอกทิศทาง เช่น ระยะทาง มวล เวลา ปริมาตร ความหนาแน่น งาน พลังงาน เป็นต้น

วันอาทิตย์ที่ 27 มิถุนายน พ.ศ. 2553

ข้อคิดที่ได้จากอลิซ อิน วันเดอร์แลนด์

สิ่งที่เราคาดไม่ถึงอาจจะช่วยให้เราพ้นจากอันตรายได้

วันศุกร์ที่ 18 มิถุนายน พ.ศ. 2553

บอกสมบัติทางกายภาพและสมบัติทางเคมีของตัวเอง

สมบัติทางกายภาพ
- ผมมีสีดำ
- นิ้วมีข้างละ 5 นิ้ว
- หูใช้ฟังเสียง
- ดวงตา2ดวงใช้มอง ดู
- จมูก1จมูกใช้ดมกลิ่น
- ปาก1ปากใช้พูด กินอาหาร
- ขา2ขาใช้เดิน
- มือ2มือใช้จับสิ่งของ
สมบัติทางเคมี
- เส้นผมมีไฟฟ้าสถิตย์
- ผิวหนังขับของเสียทางเหงื่อ
- ร่างกายไม่ทนความร้อน ความเย็น
- ร่างกายมีการทำงานและการเปลี่ยนแปลงอยู่ตลอดเวลา

วันพุธที่ 9 มิถุนายน พ.ศ. 2553

ทำไมน้ำจึงเป็นรูปหยดน้ำ




เพราะโมเลกุลของน้ำเป็นทรงกลม

ถ้าโลกไม่มีดวงอาทิตย์จะเกิดอะไรขึ้น

มนุษย์เราคงจะสูญพันธ์ไปเช่นเดียวกับที่ไดโนเสาร์เคยสูญพันธ์ไปแล้ว ทั้งนี้เพราะดวงอาทิตย์เป็นแหล่งพลังงานให้พืชสังเคราะห์แสงเพื่อให้เป็นอาหารของคนและสัตว์ ดวงอาทิตย์ยังเป็นแหล่งพลังงานให้ความอบอุ่นกับโลก ซึ่งต่อไปทุกภูมิภาคของโลกก็มีแต่ความหนาวเย็น ต้องใช้พลังงานเพิ่มมากขึ้นในการให้ความอบอุ่น เมื่อไม่มีพลังงานเพิ่มเติมจากดวงอาทิตย์ พลังงานเดิมก็ต้องนำมาใช้ทั้งกลางวันกลางคืน เพราะไม่สามารถจะแยกความแตกต่างระหว่างกลางวันกับกลางคืนได้ เข้าใจว่าภายในอาทิตย์เดียวก็จะตายกันหมด เมื่อผสมโรงกับความแปรปรวนของลมฟ้าอากาศคลื่นลม หรือภัยพิบัติอื่นๆ ที่จะเกิดขึ้น

ทำไมวันวิสาขบูชาจึงเป้นวันสำคัญของโลก

พระพุทธศาสนาในสถานการณ์โลกปัจจุบัน

สหประชาชาติยอมรับวันวิสาขบูชาตามแบบเถรวาท
วันวิสาขบูชาเป็นวันของพระพุทธศาสนา แต่ได้เป็นวันที่สหประชาชาติยอมรับให้เป็นวันสำคัญสากลของโลก พระพุทธศาสนาในประเทศต่าง ๆ ก็ฉลองวันวิสาขบูชา รัฐบาลอินเดียซึ่งเป็นรัฐบาลที่นับถือศาสนาฮินดู ได้ประกาศวันวิสาขบูชา เป็นวันหยุดราชการ เรียกว่าวันพุทธชยันตี (Buddha Jayanti) แปลว่าวันเกิดของพระพุทธเจ้า ชาวพุทธในอินเดียส่งบัตรอวยพรกันในวันนี้
วิสาขะเป็นภาษาบาลีแปลว่าเดือนหก ภาษาสันสกฤตเรียกว่าไวศาขะ วิสาขบูชา คือการบูชาในเดือนหก ศรีลังกาเรียกว่า เวสัค หรือ วีสัค (Vesak) สหประชาชาติใช้คำว่า Vesak ตามชาวศรีลังกา ซึ่งมีการเฉลิมฉลองวันวิสาขบูชามานานก่อนประเทศไทย
ประเทศพม่า และประเทศอื่น ๆ ในเอเซียอาคเนย์ รวมทั้งประเทศไทย จะมีการเฉลิมฉลองวันวิสาขบูชาในวันเพ็ญกลางเดือนหก คือเดือนวิสาข แต่ในประเทศที่นับถือพระพุทธศาสนาฝ่ายมหายาน เช่น ญี่ปุ่น ได้กำหนดวันวิสาขบูชาตรงกับวันที่ ๘ เมษายนของทุกปี บางนิกายในบางประเทศไม่ได้กำหนดวันประสูติ ตรัสรู้ และปรินิพพานของพระพุทธเจ้าในวันเดียวกัน ประเทศที่นับถือมหายานถือว่า พระพุทธเจ้าประสูติวันหนึ่ง ตรัสรู้วันหนึ่ง และปรินิพพานอีกวันหนึ่ง เช่นประสูติวันที่ ๘ เมษายน ตรัสรู้วันที่ ๘ ธันวาคม และปรินิพพานวันที่ ๑๕ กุมภาพันธ์
การที่สหประชาชาติได้กำหนดวันวิสาขบูชาตรงกับวันเพ็ญกลางเดือนหก จึงเป็นการกำหนดตามแบบพระพุทธศาสนาเถรวาท สหประชาชาติใช้คำว่าวันเพ็ญกลางเดือนพฤษภาคม การที่พระพุทธศาสนาได้วันวิสาขบูชาเป็นวันสำคัญของโลกเป็นพระพุทธศาสนาฝ่ายเถรวาท และฝ่ายมหายานก็ยอมรับข้อกำหนดนี้
การที่สหประชาชาติกำหนดให้วันวิสาขบูชาเป็นวันสำคัญของโลก เพราะพระพุทธศาสนาเป็นบ่อเกิดแห่งอารยธรรมของโลก ทางสหประชาชาติเรียกว่า Spirituality หมายความว่าได้หล่อหลอมจิตวิญญาณของมวลมนุษยชาติ ตามแนวทางแห่งสันติภาพ ตามหลักธรรมของพระพุทธศาสนาเป็นเวลากว่า ๒,๐๐๐ ปี ในคำประกาศของที่ประชุมใหญ่สมัชชาสหประชาชาติ ครั้งที่ ๕๔ เมื่อ ๑๓ ธันวาคม ๒๕๔๒ มีการระบุว่า พระพุทธศาสนาเป็นศาสนาที่เก่าแก่ที่สุดศาสนาหนึ่งของโลก ที่ได้หล่อหลอมจิตวิญญาณ ของมนุษยชาติมานาน ควรที่จะยกย่องกันทั่วโลก จึงประกาศให้วันวิสาขบูชาคือ วันเพ็ญเดือนพฤษภาคม เป็นวันสำคัญสากลนานาชาติ (International Day) เมื่อถึงวันดังกล่าวให้สำนักงานใหญ่สหประชาชาติ สำนักงานย่อยทั่วโลก รวมถึงสำนักงานในประเทศไทย ต้องจัดพิธีวันวิสาขบูชา สำหรับชาวพุทธที่ทำงานอยู่ในสำนักงาน
พระพุทธศาสนา ในฐานะเป็นแหล่งอารยธรรมของโลก
การที่ทั่วโลกยอมรับวันวิสาขะเป็นเพราะคุณค่าของพระพุทธศาสนาว่าเป็นบ่อเกิดแห่งอารยธรรมของโลก พระพุทธศาสนาเป็นมรดกที่สำคัญของโลก และพระพุทธเจ้าเป็นเอกอัครบุรุษที่ยิ่งใหญ่ของโลก
ในประวัติศาสตร์ที่ผ่านมา ไม่เคยมีสงครามระหว่างประเทศโดยการอ้างพระพุทธศาสนามาเป็นต้นเหตุ ชาวพุทธไม่เคยก่อสงครามศาสนา ฉะนั้นจึงขอให้วันวิสาขบูชาเป็นวันที่รำลึกถึงสันติภาพของโลก พระพุทธศาสนาเป็นศาสนาแห่งความรัก ศาสนาแห่งสันติภาพ ฝ่ายชาวพุทธต่างหากที่อาจจะรักสันติภาพมากเกินไปจนกลายเป็นม้าอารี ที่กล่าวเช่นนี้ ไม่ใช่หมายเอาเฉพาะประเทศไทย รัฐบาลทะลิบัน ในประเทศอัฟกานิสถานทำลายพระพุทธรูปเก่าแก่ที่สุดของโลก มีอายุมากกว่า ๒,๐๐๐ ปี จำนวน ๒ องค์ โดยได้ใช้ระเบิดทำลายไปจนไม่มีเหลือแม้แต่ซาก เป็นเรื่องที่ไม่คาดคิดว่าในขณะที่ชาวโลกยอมรับวันวิสาขบูชา ให้เป็นวันสำคัญสากล แต่ชาวโลกรักษาพระพุทธรูปเก่าแก่ที่สุดนั้นไม่ได้ แม้ยูเนสโก (UNESCO) หรือกลุ่มประเทศ จี ๗ จะยื่นมือเข้ามาแทรกแซงก็ไม่เป็นผลสำเร็จ
เรื่องนี้เป็นประเด็นที่ขอให้ชาวพุทธทั้งหลายช่วยกันคิดว่า วันวิสาขบูชา เราจะทำอะไรถวายพระพุทธเจ้า ในระดับประเทศ ในระดับโลก ให้เป็นพุทธบูชา เราควรทำอะไรให้สมกับเป็นชาวพุทธหรือไม่ ในระดับประเทศที่คนส่วนใหญ่เป็นชาวพุทธ ประเทศไทยเป็นเมืองพุทธ รัฐบาลก็เป็นชาวพุทธ มีนโยบายอะไรที่จะส่งเสริมในลักษณะที่บ่งบอกว่าประเทศนี้เป็นประเทศพระพุทธศาสนา ถ้าจะเรียกร้องว่า พระพุทธศาสนาเป็นศาสนาประจำชาติ นอกจากจะเขียนไว้ในรัฐธรรมนูญแล้ว เราจะทำอะไรให้ปรากฏ ในแนวนโยบายหลักของรัฐบาล นโยบายหลักของกระทรวง ที่แสดงให้เห็นว่าประเทศไทยนี้ดินแดนนี้เป็นดินแดนแห่งพระพุทธศาสนา
พระพุทธศาสนาเป็นศาสนาแห่งสันติภาพ ในความหมายที่ว่าเมื่อเผยแผ่ไปถึงไหนก็ไปอย่างสันติ ไปที่ไหนเจ้าของบ้านเขาต้อนรับ เพราะเราไม่ได้ไปทำลายสิ่งที่เขาเคารพนับถือ เราอยู่ร่วมกันอย่างสันติ เมื่อพระพุทธเจ้าได้ส่งพระอรหันต์ ๖๐ รูป ไปประกาศพระพุทธศาสนาเป็นรุ่นแรก จนกระทั่งถึงวันเพ็ญกลางเดือนสาม หลังจากตรัสรู้ได้เก้าเดือน มีการมาประชุมกัน ณ วัดเวฬุวัน ในวันมาฆบูชา เป็นพระอรหันต์ทั้งสิ้นจำนวน ๑,๒๕๐ รูป ในวันนั้นได้ประกาศธรรมนูญการเผยแผ่พระพุทธศาสนาว่า
ขนฺตี ปรม ํ ตโป ตีติกฺขา ขันติคือความอดกลั้นอย่างยิ่ง
อนูปวาโท อนูปฆาโต เผยแผ่พระศาสนาโดยไม่ว่าร้ายใคร ไม่เบียดเบียนใครไม่เข่นฆ่าประหัตประหารใคร ไปอย่างสันติ
พระพุทธเจ้าได้ประกาศสันติภาพไว้ในธรรมนูญ พุทธศาสนาเรียกว่า โอวาทปาฏิโมกข์ คือคำสอนหลักที่เป็นประธาน
พุทธธรรมกับเศรษฐกิจพอเพียง
พระพุทธศาสนาฝ่ายเถรวาทจัดเป็นภูมิปัญญาตะวันออก ตอนนี้โลกตะวันตกกำลังสับสน เกิดความอับจนในเรื่องภูมิปัญญา มีปัญหาเศรษฐกิจ เศรษฐกิจในสหรัฐอเมริกากำลังชะลอตัว เศรษฐกิจของโลกก็ซบเซาตามที่เป็นเช่นนี้ เพราะคิดแบบวัตถุนิยม หรือบริโภคนิยม แต่ละประเทศผลิตสินค้าเพื่อกระตุ้นตัณหา ไม่มีคำว่าพอเพียงในระบบทุนเศรษฐกิจนิยม
พระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัว ทรงมีแนวพระราชดำริเรื่อง เศรษฐกิจพอเพียง (Self - Subficiency Economy) ซึ่งมีฐานมาจากหลักธรรมในพระพุทธศาสนา ที่สอนในเรื่องการพึ่งตน อตฺตา หิ อตฺตโน นาโถ ตนแลเป็นที่พึ่งของตน เศรษฐกิจพอเพียงสอนเรื่องการพึ่งตนเอง สภาพที่เป็นอยู่ปัจจุบันเป็นเพราะไม่รู้จักพอเพียง คือ
- ไม่รู้จักพึ่งตนเอง ไปกู้เงินต่างประเทศมากเกินไป
- ไม่รู้จักคำว่าพอใจตามมี ยินดีตามได้ คือไม่สันโดษ ตามหลักพระพุทธศาสนา
- ไม่รู้จักคำว่าพอดี คือ มัตตัญญุตา หรือทางสายกลาง มัชฌิมาปฏิปทา
เรื่องเศรษฐกิจพอเพียงมีฐานมาจากภูมิปัญญา ทางพุทธศาสนาคือ
- เรื่อง อตฺตา หิ อตฺตโน นาโถ การพึ่งตนเอง พยายามใช้ทรัพยากรในประเทศของเราเอง
- รู้จักคำว่าพอเพียง คือ พอใจตามมี ยินดีตามได้ ตามหลักสันโดษ
- รู้จักคำว่าพอดี มัชฌิมาปฏิปทา คือ ทางสายกลาง โดยให้มีความสุขกาย และสุขใจไปด้วยกัน
หลักธรรมดังกล่าวนี้มีอยู่ในเศรษฐกิจพอเพียง ชาวพุทธต้องช่วยขยายแนวพระราชดำรินี้ไปทั่วโลก ให้เป็นภูมิปัญญาของโลก สามารถส่งออกทางความคิด เป็นทรัพย์สินทางปัญญาไปช่วยชาวโลกได้
เมื่อไปดูภูมิปัญญาชาวตะวันตก ไอสไตน์ได้กล่าวไว้ว่า ถ้าจะมีศาสนาของโลกที่สอดคล้องกับจิตวิญญาณทางวิทยาศาสตร์ ไม่พูดเรื่องพระเจ้าให้นักวิทยาศาสตร์เสียความรู้สึก พูดถึงปรากฏการณ์ทางธรรมชาติ และพัฒนาการทางจิตวิญญาณของมนุษย์ ถ้ามีศาสนาเช่นนั้น นักวิทยาศาสตร์จะยอมรับได้ทั่วโลกและถูกใจนักวิทยาศาสตร์ ไอสไตน์พิจารณาเห็นว่าศาสนาที่ว่านั้นคือพระพุทธศาสนา
อนัตตาแห่งฟิสิกส์
พระพุทธเจ้าทรงสอนเรื่องอนัตตามานานแล้ว อนัตตาคือความไม่มีแก่นสาร ไม่มีตัวตน พระพุทธเจ้าทรงใช้คำว่า สัพเพ ธัมมา อนัตตา ธรรมทั้งหลายทั้งปวงเป็นอนัตตา
สิ่งต่าง ๆ เกิดขึ้นจากอาศัยปัจจัยปรุงแต่งประกอบเข้า สิ่งต่าง ๆ เป็น Non - Atom แบ่งแยกได้นี่เป็น อนัตตา แบบพระพุทธศาสนา ทางตะวันตกเพิ่งมายอมรับเมื่อศตวรรษที่ ๒๐ ว่า อะตอมแบ่งแยกได้ เรียกว่า ทฤษฎีควอนตัม (Quantum Theory)
พระพุทธรูปถูกทำลายที่อัฟกานิสถาน
การที่ว่าเป็นแหล่งอารยธรรมของโลก ไม่ใช่เป็นเรื่องศาสนบุคคล หรือศาสนธรรมอย่างเดียว เรายังมีศาสนวัตถุ ศาสนพิธี ศาสนวัตถุในพระพุทธศาสนาอันเป็นแหล่งอารยธรรมของโลกที่ดี เราต้องยกเป็นมรดกโลกหมด เพื่อป้องกันการถูกทำลาย ลงไปอย่างพระพุทธรูปในอัฟกานิสถาน
วิธีแรก ชาวพุทธทั่วโลกต้องแสดงพลังโดยมีการประชุมกัน มีการสำรวจและทำบัญชีว่ามีศาสนสถาน และศาสนวัตถุ อยู่ในดินแดนศาสนาอื่นที่ใดบ้าง แล้วขึ้นบัญชี ยูเนสโก (Unesco) เป็นมรดกโลกให้หมด
วิธีที่สอง ชาวพุทธรวมตัวกัน ระดับโลกกับศาสนาอื่น เพื่อรักษาศาสนสถาน และศาสนวัตถุของทุกศาสนา เพื่อไม่ให้มีการทำลายจากฝ่ายใดก็ตาม
ข่าวการทำลายพระพุทธรูปที่บามิยันของรัฐบาลทะลิบัน ประเทศอัฟกานิสถาน อิสลามทั่วโลกตำหนิอัฟกานิสถานว่าอย่าทำลาย ยูเนสโก ก็ขอร้องไม่ให้ทำลาย การทำลายพระพุทธรูปที่บามิยันเหมือนทำลายจิตวิญญาณชาวพุทธ เป็นบทเรียนราคาแพง เหมือนการเผาทำลาย นาลันทามหาวิหาร ซึ่งเป็นมหาวิทยาลัยยิ่งใหญ่ในอินเดียโบราณ เป็นมหาวิทยาลัยที่ยิ่งใหญ่ที่สุดในโลก มีนิสิตนักศึกษา ๑๕,๐๐๐ รูป มีครูอาจารย์ ๑,๕๐๐ คน มีห้องสมุด ๓ หลัง มหาวิทยาลัยถูกเผาโดยมุสลิมจนหมดสิ้น ห้องสมุดขนาดใหญ่ต้องใช้เวลาเผาอยู่ ๒ เดือน
ทำอย่างไรในยุคเศรษฐกิจชะลอตัว
ทาน ศีล ภาวนา เราคงปฏิบัติได้ถูกต้องตามสถานการณ์ พระพุทธเจ้าตรัสว่า วิเจยฺย ทานํ พาตพฺพํ ยตฺถ ทินฺนํ มหปฺผลํ ต้องพิจารณาให้ดีแล้วจึงให้ทาน ในที่ที่มีผลมาก คำว่าพิจารณาคือ เลือกของถวาย และเลือกผู้รับ
ประการแรก เลือกของถวายให้เหมาะกับผู้รับ ใส่บาตรพระเพื่อให้พระท่านมีกำลังเผยแผ่พระพุทธศาสนา เรียกว่ามี ปุพฺพเจตนา เจตนาเบื้องต้นก่อนถวาย ของที่ถวายเป็นของบริสุทธิ์ เรียกว่าเป็นทักษิณาที่บริสุทธิ์
วันสำคัญทางศาสนาขอให้มีเจตนาที่ดี บูชาพระด้วยเจตนาที่เป็นกุศล ให้จิตเกิดโสมนัสดีใจชื่นใจ ถ้าเจตนาก่อนทำ กำลังทำ และทำแล้วผ่องใสทานก็มีผลมาก มีอานิสงส์มาก อีกประการหนึ่งขึ้นอยู่กับผู้รับด้วย ถ้าผู้รับเป็นผู้มีศีลบริสุทธิ์ เพิ่งออกจากกัมมัฏฐานเจโตสมาบัติ ทานยิ่งให้ผลมาก อีกอย่างหนึ่งคือถวายสงฆ์ เรียกว่าสังฆทานเป็นวิธีที่ปลอดภัยอย่างหนึ่ง เมื่อใดพระอริยเจ้ามาใช้ประโยชน์จากทานนั้น ผู้บริจาคก็จะได้บุญใหญ่
การพัฒนาปัญญาเป็นหัวใจของเศรษฐกิจใหม่
เศรษฐกิจใหม่ (New Economy) พระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัว ทางใช้คำว่าเศรษฐกิจพอเพียง พระพุทธศาสนาจะไปเสริมเศรษฐกิจใหม่ หรือเศรษฐกิจพอเพียง การเพิ่มทรัพย์สินทางปัญญา ใช้วัตถุดิบในประเทศเมื่อเรานำมาผลิตด้วยปัญญา จำทำให้มูลค่าเพิ่มขึ้น ด้วยภูมิปัญญาไทย ใช้ของไทย ผลิตในประเทศไทย
สังคมชาวพุทธต้องช่วยกันลดแหล่งอบายมุข ซึ่งเป็นแหล่งรั่วในสังคมไทยอันได้แก่ ดื่มสุรา เที่ยวกลางคืน ดูการละเล่น เล่นการพนัน คบคนชั่วเป็นมิตร และเกียจคร้าน
การปฏิบัติการศึกษาต้องช่วยยกระดับความสามารถของเราในการแข่งขันระดับโลก
พระพุทธศาสนากับการปฏิรูปการศึกษา
คณะสงฆ์กำลังตื่นตัวเรื่องการจัดการศึกษาให้พระภิกษุ สามเณร ผู้เข้ามาบวชจะต้องได้รับการศึกษา เล่าเรียนพระธรรมวินัยอย่างทั่วหน้า และมีคุณภาพ ชาวบ้านต้องช่วยอุปถัมภ์การศึกษาแก่ท่าน พระสงฆ์จะได้เป็นกำลังสำคัญ ในการสอนพระศาสนา เป็นฐานที่มั่นของการเผยแผ่พระศาสนาทั่วโลก วัดต่าง ๆ ให้หันมาสร้างโรงเรียน หรือศูนย์การเรียนให้มากขึ้น
ขอให้ใช้วิจารณญาณประกอบการให้ทาน วิเจยฺย ทานํ คือ พิจารณาก่อนให้ทานที่จะมีผลกระทบต่อสังคมในวงกว้าง การสนับสนุนการศึกษาสงฆ์ ช่วยโรงพยาบาลสงฆ์ การถวายทานอย่างนี้จะเป็นการสร้างรากฐานทางปัญญาที่มั่นคงให้แก่ประเทศชาติได้ เป็นการให้ทานอย่างถูกสถานการณ์
การรักษาศีลในสถานการณ์เศรษฐกิจปัจจุบัน ให้พยายาม ลด ละ เลิก อบายมุข และใช้ของที่ผลิตในประเทศอย่างประหยัด ไม่ฟุ่มเฟือย ตั้งใจรักษาศีล ๕ หรือศีล ๘ การประหยัดแบบนี้เรียกว่านโยบายเก็บเบี้ยใต้ถุนร้าน คือหาเงินตามบ้านของตนเอง ถ้าเรารักษาศีลข้อที่ ๖ คือไม่ทานอาหารเย็นในวันพระหรือวันสำคัญทางศาสนา แล้วนำเงินที่ประหยัดได้นั้น ไปทำบุญที่วัดส่งเสริมการศึกษาของพระภิกษุ สามเณร ถ้าทำอย่างนี้ได้จะลดความเห็นแก่ตัว และทำให้ชาวพุทธพึ่งกันและกันมากขึ้น ศรัทธากับปัญญาต้องมาคู่กัน ศรัทธามากเกินไปจนขาดปัญญา จะงมงายกลายเป็นไสยศาสตร์ ปัญญามากเกินไปจนขาดศรัทธาจะเกิดความสงสัยไม่ปฏิบัติ
ปัญญาภาวนาต้องทำให้มาก ศาสนพิธีไม่ใช่ทำตาม ๆ กัน พอเป็นพิธี แต่ให้ทำด้วยความรู้ การบูชาพระมีการจุดธูปเทียน ต้องรู้ว่าจุดอะไรก่อน ต้องรู้ว่าเราจุดธูปสามดอกเพื่อบูชาพระพุทธ จุดเทียน ๒ เล่ม เพื่อบูชาพระธรรม และดอกไม้สำหรับบูชาพระสงฆ์ การสวดมนต์มีเพื่ออะไร เราควรต้องรู้ความหมายของบทสวดมนต์ วิธีสวดมนต์ภาษาบาลี การเรียนพระอภิธรรมต้องเรียนภาษาบาลีก่อน มหาวิทยาลัยสงฆ์เป็นของกลาง ไม่ใช่ของวัดใดวันหนึ่ง ชาวพุทธทั่วประเทศมีสิทธิ์มาใช้บริการ เป็นการลงทุนทางปัญญา เมื่อสร้างมหาวิทยาลัยสงฆ์แล้วให้ใช้ประโยชน์ได้นานเหมือนมหาวิทยาลัยนาลันทา ให้เป็นศูนย์กลางการศึกษาพระพุทธศาสนาระดับโลก จะทำให้ประเทศไทยได้ชื่อว่าเป็นผู้นำในด้านพระพุทธศาสนา และเป็นศูนย์กลางพระพุทธศาสนาอย่างเต็มภาคภูมิ
ที่กล่าวมาแล้วเป็นการทำบุญให้ถูกวิธี ปรับวิธีการให้ทาน รักษาศีลและเจริญภาวนาให้สอดคล้องกับสถานการณ์ของโลก คือปรับการทำทาน การรักษาศีลให้สัมพันธ์กับหลักเศรษฐกิจพอเพียง เจริญภาวนาด้วยการปฏิรูปการศึกษาให้มีปัญญาพึ่งพาตนเองได้ ในที่สุดทาน ศีล ภาวนา จะช่วยพัฒนาประเทศไทยให้เข้มแข็ง เป็นสังคมชาวพุทธที่นอกจากจะพึ่งตนเองได้แล้ว ยังสามารถนำอารยธรรมของพระพุทธศาสนาไปเผยแผ่ในสังคมโลก

----------------------------

หมายเหตุ : เก็บความจาก ปาฐกถาธรรมของ พระเทพโสภณ (ประยูร ธมฺมจิตฺโต) เจ้าคณะภาค ๒, อธิการบดีมหาวิทยาลัยจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย และผู้ช่วยเจ้าอาวาสวัดประยุรวงศาวาส เมื่อวันที่ ๗ พฤษภาคม พ.ศ. ๒๕๔๔ ต่อมาได้ถอดเทปตีพิมน์เป็นหนังสือขนาด ๑๖ หน้าหนา ๔๓ หน้า

ชีววิทยาคืออะไร

ชีววิทยา (Biology) เป็นการศึกษาทางวิทยาศาสตร์ที่เกี่ยวข้องกับสิ่งมีชีวิตในทุกๆแง่มุม (Biological Scinces) ชีววิทยา (Biology) มาจากภาษากรีก จากคำว่า " Bios "& "Logos" ซึ่งคำว่า "bios" แปลว่า สิ่งมีชีวิต และ "logos"แปลว่า การคิดและเหตุผลการศึกษา ชีววิทยาซึ่งถือเป็นการศึกษาหลักที่แยกย่อยไปเป็นวิชาทางชีวภาพอื่นๆมากมาย ไม่ชีววิทยาเป็นสาขาวิชาที่ใหญ่มากจนไม่อาจศึกษาเป็นสาขาเดียวได้ จึงต้องแยกออกเป็นสาขาย่อยต่างๆ ในหัวข้อนี้จะแบ่งสาขาย่อยออกเป็น 4 กลุ่ม กลุ่มที่หนึ่งเป็นสาขาที่ศึกษาโครงสร้างพื้นฐานของสิ่งมีชีวิต อย่างเช่นเซลล์ ยีน เป็นต้น กลุ่มที่สองศึกษาการทำงานของโครงสร้างต่างๆ ตั้งแต่ระดับเนื้อเยื่อ ระดับอวัยวะ จนถึงระดับร่างกาย กลุ่มที่สามศึกษาประวัติศาสตร์ของสิ่งมีชีวิต กลุ่มที่สี่ศึกษาความสัมพันธ์ในระหว่างสิ่งมีชีวิต อย่างไรก็ตาม การแบ่งกลุ่มนี้เป็นเพียงการจัดหมวดหมู่ให้สาขาต่างๆในชีววิทยาให้เป็นระเบียบและเข้าใจง่าย แต่ความจริงแล้ว ขอบเขตของสาขาต่างๆนั้นไม่แน่นอน และสาขาวิชาส่วนใหญ่ก็จำเป็นต้องใช้ความรู้จากสาขาอื่นด้วย ตัวอย่างเช่น สาขาชีววิทยาของวิวัฒนาการ ต้องใช้ความรู้จากสาขาอณูวิทยา เพื่อจัดลำดับของดีเอ็นเอ ซึ่งจะช่วยให้เข้าใจความแปรผันทางพันธุกรรมของประชากร หรือสาขาวิชาสรีรวิทยา ต้องใช้ความรู้จากสาขาชีววิทยาของเซลล์ เพื่ออธิบายการทำงานของระบบอวัยวะ

การศึกษาสิ่งมีชีวิตในระดับอะตอมและโมเลกุล จัดอยู่ในสาขาวิชาอณูชีววิทยา ชีวเคมี และอณูพันธุศาสตร์ การศึกษาในระดับเซลล์ จัดอยู่ในสาขาวิชาเซลล์วิทยา และในระดับเนื้อเยื่อ จัดอยู่ในสาขาวิชาสรีรวิทยา กายวิภาคศาสตร์ และมิญชวิทยา สาขาวิชาคัพภวิทยาเป็นการศึกษาการเจริญเติบโตและพัฒนาการของตัวอ่อนของสิ่งมีชีวิต

สาขาวิชาพันธุศาสตร์เป็นการศึกษาการถ่ายทอดลักษณะทางพันธุกรรมของสิ่งมีชีวิตจากรุ่นหนึ่งไปสู่อีกรุ่นหนึ่ง สาขาวิชาพฤติกรรมวิทยาเป็นการศึกษาพฤติกรรมของกลุ่มสิ่งมีชีวิต สาขาวิชาพันธุศาสตร์ประชากรเป็นการศึกษาพันธุศาสตร์ในระดับประชากรของสิ่งมีชีวิต การศึกษาความสัมพันธ์ระหว่างสิ่งมีชีวิตชนิดหนึ่งกับสิ่งมีชีวิตอีกชนิดหนึ่ง และระหว่างสิ่งมีชีวิตกับถิ่นที่อยู่อาศัย จัดอยู่ในสาขาวิชานิเวศวิทยาและชีววิทยาของวิวัฒนาการ

ปรากฏการณ์ทางชีววิทยา
ปรากฏการณ์การเปลี่ยนแปลงจากทางธรรมชาติ เกิดจากการที่มีอะไรไม่แน่นอนบางอย่างเกิดขึ้นได้

หลักของชีววิทยา
หลักที่นักชีววิทยาสมัยใหม่นั้นได้ยอมรับร่วมกันเป็นพื้นฐานได้แก่:

หลักทฤษฎีเซลล์ (Cell Theory). ซึ่งทฤษฎีนี้ระบุว่าสิ่งมีชีวิตทั้งหลายจะต้องประกอบไปเซลล์อย่างน้อยหนึ่งเซลล์ ซึ่งเซลล์ถือว่าเป็นองค์ประกอบพื้นฐานที่สุดของการทำงานในสิ่งมีชีวิต นอกจากนี้ กระบวนการทางกลศาสตร์และทางเคมีต่างก็ล้วนอาศัยเซลล์เป็นตัวขับเคลื่อนกระบวนการเช่นเดียวกัน ทั้งเชื่อว่าเซลล์สามารถเกิดจากเซลล์ต้นกำเนิด (perexisting cells) ได้เท่านั้น
หลักวิวัฒนาการ (Evolution). เชื่อในการเลือกสรรของธรรมชาติ (natural selection) และการถ่ายทอดทางพันธุกรรม
หลักทฤษฎีพันธุกรรม (Gene Theory). เชื่อว่าลักษณะทางพันธุกรรมนั้น ถูกเก็บเป็นรหัสสิ่งมีชีวิตใน DNA ในยีนอันเป็นมูลฐานแห่งการถ่ายทอดพันธุกรรม
หลักภาวะธำรงดุล (Homeostasis). เป็นหลักที่เชื่อในการรักษาสมดุลของสิ่งมีชีวิต ในการปรับระบบภาวะแวดล้อมทั้งทางฟิสิกส์และเคมีของระบบภายในสิ่งมีชีวิตให้เข้ากับระบบภายนอกสิ่งมีชีวิต




ลักษณะร่วมกันของสิ่งมีชีวิต

แผนภาพของดีเอ็นเอ ซึ่งเป็นสารพันธุกรรมขั้นต้นตัวอย่างของลักษณะร่วมกันที่เด่นชัด คือ สิ่งมีชีวิตทุกชนิดล้วนมีองค์ประกอบจากสารชีวโมเลกุล และมีการถ่ายทอดลักษณะผ่านทางสารพันธุกรรม ซึ่งเป็นกรดนิวคลีอิก เช่น ดีเอ็นเอ ทำหน้าที่เป็นรหัสพันธุกรรม

หลักของลักษณะร่วมกันอีกสิ่งหนึ่งคือ สิ่งมีชีวิตทุกชนิด (ยกเว้นไวรัส) ประกอบขึ้นจากเซลล์ และยังมีกระบวนการเจริญเติบโตคล้ายคลึงกัน ตัวอย่างเช่น สิ่งมีชีวิตชั้นสูงส่วนใหญ่จะมีเอ็มบริโอที่มีลักษณะขั้นต้นคล้ายกัน และมียีนคล้ายกันอีกด้วย


วิวัฒนาการ
แนวคิดหลักของชีววิทยาคือ สิ่งมีชีวิตทุกชนิดมีต้นกำเนิดร่วมกัน และมีการเปลี่ยนแปลงพัฒนาโดยกระบวนการที่เรียกว่า วิวัฒนาการ


ความหลากหลายของสิ่งมีชีวิต

ความสัมพันธ์ระหว่างสิ่งมีชีวิตกับสิ่งแวดล้อม

การพึ่งพาอาศัยกับระหว่างปลาการ์ตูนและดอกไม้ทะเล ซึ่งปลาการ์ตูนอาศัยอยู่ท่ามกลางหนวดของดอกไม้ทะเล ปลาการ์ตูนช่วยปกป้องดอกไม้ทะเลจากปลาชนิดอื่นที่กินดอกไม้ทะเลเป็นอาหาร และหนวดที่มีพิษของดอกไม้ทะเลจะช่วยปกป้องปลาการ์ตูนจากนักล่าสิ่งมีชีวิตทุกชนิดจะมีความสัมพันธ์กับสิ่งมีชีวิตชนิดอื่นๆ และกับสิ่งแวดล้อม เหตุผลหนึ่งที่ทำให้การศึกษาระบบทางชีววิทยาทำได้ยากคือ ความสัมพันธ์ดังกล่าวมีมากมายหลายทางที่เป็นไปได้ แม้แต่ในการศึกษาระดับที่เล็กที่สุด เช่น แบคทีเรียจะมีปฏิกิริยากับน้ำตาลที่อยู่โดยรอบ ซึ่งเป็นการตอบสนองต่อสิ่งแวดล้อม เหมือนกับที่สิงโตมีการตอบสนองต่อสิ่งแวดล้อมขณะที่ออกหาอาหารในทุ่งหญ้าซาวันนา ส่วนพฤติกรรมที่มีต่อสิ่งมีชีวิตชนิดอื่นๆ อาจเป็นไปทั้งในลักษณะอาศัยอยู่ร่วมกัน คุกคามต่อกัน เป็นปรสิต หรือพึ่งพาอาศัยกัน ความสัมพันธ์นี้จะซับซ้อนมากขึ้นหากมีสิ่งมีชีวิต 2 ชนิด หรือมากกว่า มีความเกี่ยวข้องต่อกันในระบบนิเวศ การศึกษาความสัมพันธ์นี้จัดเป็นสาขาวิชานิเวศวิทยา


ขอบเขตของชีววิทยา
ชีววิทยาเป็นสาขาวิชาที่ใหญ่มากจนไม่อาจศึกษาเป็นสาขาเดียวได้ จึงต้องแยกออกเป็นสาขาย่อยต่างๆ ในหัวข้อนี้จะแบ่งสาขาย่อยออกเป็น 4 กลุ่ม กลุ่มที่หนึ่งเป็นสาขาที่ศึกษาโครงสร้างพื้นฐานของสิ่งมีชีวิต อย่างเช่นเซลล์ ยีน เป็นต้น กลุ่มที่สองศึกษาการทำงานของโครงสร้างต่างๆ ตั้งแต่ระดับเนื้อเยื่อ ระดับอวัยวะ จนถึงระดับร่างกาย กลุ่มที่สามศึกษาประวัติศาสตร์ของสิ่งมีชีวิต กลุ่มที่สี่ศึกษาความสัมพันธ์ในระหว่างสิ่งมีชีวิต อย่างไรก็ตาม การแบ่งกลุ่มนี้เป็นเพียงการจัดหมวดหมู่ให้สาขาต่างๆในชีววิทยาให้เป็นระเบียบและเข้าใจง่าย แต่ความจริงแล้ว ขอบเขตของสาขาต่างๆนั้นไม่แน่นอน และสาขาวิชาส่วนใหญ่ก็จำเป็นต้องใช้ความรู้จากสาขาอื่นด้วย ตัวอย่างเช่น สาขาชีววิทยาของวิวัฒนาการ ต้องใช้ความรู้จากสาขาอณูวิทยา เพื่อจัดลำดับของดีเอ็นเอ ซึ่งจะช่วยให้เข้าใจความแปรผันทางพันธุกรรมของประชากร หรือสาขาวิชาสรีรวิทยา ต้องใช้ความรู้จากสาขาชีววิทยาของเซลล์ เพื่ออธิบายการทำงานของระบบอวัยวะ


โครงสร้างของชีวิต

แผนภาพของเซลล์สัตว์ แสดงโครงสร้างและออร์แกเนลล์ต่างๆอณูชีววิทยาเป็นสาขาหนึ่งในชีววิทยา ซึ่งศึกษาในระดับโมเลกุล สาขานี้มีความสอดคล้องกับสาขาอื่นๆในชีววิทยา โดยเฉพาะสาขาพันธุศาสตร์และชีวเคมี อณูชีววิทยาเป็นการศึกษาปฏิสัมพันธ์ของระบบต่างๆในเซลล์ ซึ่งได้แก่ ความสัมพันธ์ระหว่าง ดีเอ็นเอ อาร์เอ็นเอ การสังเคราะห์โปรตีน และการควบคุมความสัมพันธ์เหล่านี้

ชีววิทยาของเซลล์เป็นสาขาที่ศึกษาลักษณะทางสรีรวิทยาของเซลล์ รวมไปถึงพฤติกรรม ปฏิสัมพันธ์ และสิ่งแวดล้อมของเซลล์ ทั้งระดับจุลภาคและระดับโมเลกุล สาขาวิชานี้จะศึกษาวิจัยทั้งสิ่งมีชีวิตเซลล์เดียว อย่างเช่นแบคทีเรีย และเซลล์ที่ทำหน้าที่พิเศษในสิ่งมีชีวิตหลายเซลล์ อย่างเช่นมนุษย์

พันธุศาสตร์เป็นสาขาที่ศึกษายีน พันธุกรรม และการผันแปรของสิ่งมีชีวิต ในการศึกษาวิจัยสมัยใหม่ มีเครื่องมือที่สำคัญในการศึกษาหน้าที่ของยีน หรือความสัมพันธ์ทางพันธุกรรม ในสิ่งมีชีวิต ข้อมูลทางพันธุกรรมจะอยู่ในโครโมโซม ซึ่งข้อมูลจะแทนที่ด้วยโครงสร้างทางเคมีของโมเลกุลของดีเอ็นเอ


สรีรวิทยาของสิ่งมีชีวิต
สรีรวิทยาเป็นสาขาที่ศึกษาเกี่ยวกับกระบวนการทางกายภาพและทางชีวเคมีในสิ่งมีชีวิต เพื่อให้เข้าใจหน้าที่ของโครงสร้างต่างๆ ซึ่งเป็นหลักการสำคัญในการศึกษาทางชีววิทยา การศึกษาทางสรีรวิทยาสามารถแบ่งออกได้เป็นสรีรวิทยาของพืชและสรีรวิทยาของสัตว์ แต่หลักของสรีรวิทยาในสิ่งมีชีวิตทุกชนิดล้วนแต่เหมือนกัน ตัวอย่างเช่น การศึกษาสรีรวิทยาของเซลล์ยีสต์สามารถประยุกต์ใช้กับการศึกษาในเซลล์มนุษย์ได้ สรีรวิทยาของสัตว์เป็นการศึกษาทั้งในมนุษย์และสิ่งมีชีวิตชนิดอื่นๆ สรีรวิทยาของพืชก็มีวิธีการศึกษาเช่นเดียวกับในสัตว์

กายวิภาคศาสตร์เป็นสาขาที่สำคัญในสรีรวิทยา ซึ่งศึกษาเกี่ยวกับหน้าที่และความสัมพันธ์ของระบบอวัยวะในสิ่งมีชีวิต เช่น ระบบประสาท ระบบภูมิคุ้มกัน ระบบต่อมไร้ท่อ ระบบหายใจ ระบบไหลเวียนโลหิต การศึกษาเกี่ยวกับระบบเหล่านี้สามารถแบ่งออกเป็นสาขาวิชาต่างๆได้อีก เช่น ประสาทวิทยา วิทยาภูมิคุ้มกัน


ความหลากหลายและวิวัฒนาการของสิ่งมีชีวิต
การศึกษาวิวัฒนาการมีความเกี่ยวข้องกับต้นกำเนิดและการสืบทอดลักษณะของสปีชี่ส์ รวมถึงการเปลี่ยนแปลงลักษณะที่ผ่านมา และต้องอาศัยนักวิทยาศาสตร์จากหลายสาขาที่เกี่ยวข้องกับอนุกรมวิธานของสิ่งมีชีวิต สาขาวิวิฒนาการมีรากฐานจากสาขาบรรพชีวินวิทยา ซึ่งอาศัยซากดึกดำบรรพ์ในการตอบคำถามเกี่ยวกับรูปแบบและจังหวะของวิวิฒนาการ

สาขาวิชาหลักใหญ่ที่เกี่ยวกับอนุกรมวิธานมี 2 สาขา คือ พฤกษศาสตร์ และสัตววิทยา พฤกษศาสตร์เป็นสาขาที่ศึกษาเกี่ยวพืช มีเนื้อหาครอบคลุมกว้างขวางตั้งแต่การเจริญเติบโต การสืบพันธุ์ เมแทบอลิซึม โรค และวิวัฒนาการของพืช ส่วนสัตววิทยาจะศึกษาเกี่ยวกับสัตว์ รวมทั้งลักษณะทางสรีรวิทยาของสัตว์ซึ่งอยู่ในสาขากายวิภาคศาสตร์และคัพภวิทยา กลไกทางพันธุศาสตร์และการเจริญของพืชและสัตว์จะศึกษาในสาขาอณูชีววิทยา อณูพันธุศาสตร์ และชีววิทยาของการเจริญ


ความสัมพันธ์ระหว่างสิ่งมีชีวิต

สายใยอาหาร ประกอบขึ้นจากห่วงโซ่อาหารหลายห่วงโซ่ แสดงถึงความสัมพันธ์ที่สลับซับซ้อนของสิ่งมีชีวิตในระบบนิเวศสาขานิเวศวิทยาจะศึกษาการกระจายและความหนาแน่นของสิ่งมีชีวิต รวมทั้งความสัมพันธ์ระหว่างสิ่งมีชีวิตกับสิ่งแวดล้อม สิ่งแวดล้อมของสิ่งมีชีวิตจะหมายถึงถิ่นที่อยู่อาศัย ซึ่งจะรวมไปถึงปัจจัยทางกายภาพอย่างสภาพภูมิอากาศและลักษณะทางภูมิศาสตร์ รวมทั้งสิ่งมีชีวิตอื่นๆที่อาศัยอยู่ในบริเวณเดียวกัน การศึกษาระบบทางนิเวศวิทยามีหลายระดับ ตั้งแต่ระดับสิ่งมีชีวิต ระดับประชากร ระดับระบบนิเวศ ไปจนถึงระดับโลกของสิ่งมีชีวิต จึงจะเห็นได้ว่า นิเวศวิทยาเป็นสาขาที่ครอบคลุมถึงสาขาอื่นๆอีกมากมาย

สาขาพฤติกรรมวิทยาจะศึกษาพฤติกรรมของสัตว์ (โดยเฉพาะสัตว์สังคมอย่างสัตว์จำพวกลิงและสัตว์กินเนื้อ) บางครั้งอาจจัดเป็นสาขาหนึ่งในสัตววิทยา นักพฤติกรรมวิทยาจะเน้นศึกษาที่วิวัฒนาการของพฤติกรรม และความเข้าใจในพฤติกรรม โดยตั้งอยู่บนทฤษฎีการคัดเลือกโดยธรรมชาติ


ประวัติศาสตร์ของชีววิทยา
การค้นพบที่สำคัญทางด้านชีววิทยาได้แก่

ทฤษฎีเซลล์
ทฤษฎีการเกิดโรค
พันธุศาสตร์
วิวัฒนาการ
ดีเอ็นเอ

ที่มา จากวิกิพีเดีย สารานุกรมเสรี

ชีวิตคืออะไร


ชีวิต คือ ทุกสิ่งทุกอย่างที่มีลมหายใจ มีการเกิดและก็มีการตาย

เคมีคืออะไร

เคมีคืออะไร


เคมี คือศาสตร์ที่ศึกษาเกี่ยวกับสสาร ความสามารถของสสาร การแปรรูปของสสาร และการปฏิสัมพันธ์กับพลังงานและสสารด้วยกันเอง เนื่องจากความหลากหลายของสสาร ซึ่งส่วนใหญ่จะอยู่ในรูปของอะตอม นักเคมีจึงมักศึกษาโครงสร้าง คุณสมบัติ และการจัดเรียงอะตอมเพื่อรวมตัวกันเป็นโมเลกุล เช่น แก๊สโลหะ หรือผลึกคริสตัล เคมีปัจจุบันได้ระบุว่าโครงสร้างของสสารในระดับอะตอมนั้นถือเป็นตัวกำหนดธรรมชาติของสสารทุกชนิด


คำว่าเคมีในภาษาอังกฤษคือ chemistry ซึ่งมีที่มาจากภาษากรีก คำว่า χημεία


สาขาย่อยของวิชาเคมี


วิชาเคมีมักแบ่งออกเป็นสาขาย่อยหลัก ๆ ได้หลายสาขา นอกจากนี้ยังมีสาขาทางเคมีที่มีลักษณะที่ข้ามขอบเขตการแบ่งสาขา และบางสาขาก็เป็นสาขาที่เฉพาะทางมาก


เคมีวิเคราะห์
เคมีวิเคราะห์ (Analytical Chemistry) คือการวิเคราะห์ตัวอย่างสาร เพื่อศึกษาส่วนประกอบทางเคมีและโครงสร้าง.

ชีวเคมี
ชีวเคมี(Biochemistry) คือการศึกษาสารเคมี ปฏิกิริยาเคมี และ ปฏิสัมพันธ์ทางเคมีที่เกิดขึ้นในสิ่งมีชีวิต

เคมีอนินทรีย์
เคมีอนินทรีย์(Inorganic Chemistry) คือการศึกษาคุณสมบัติและปฏิกิริยาของสารประกอบอนินทรีย์ อย่างไรก็ตามการแบ่งแยกระหว่างสาขาทางอินทรีย์และสาขาอนินทรีย์นั้น ไม่ชัดเจน และยังมีการเหลื่อมของขอบเขตการศึกษาอยู่มาก เช่นในสาขา organometallic chemistry

เคมีอินทรีย์
เคมีอินทรีย์(Organic Chemistry) คือการศึกษาโครงสร้าง, สมบัติ, ส่วนประกอบ และปฏิกิริยาเคมี ของสารประกอบอินทรีย์

เคมีฟิสิกส์
เคมีเชิงฟิสิกส์(Physical Chemistry) คือการศึกษารากฐานทางฟิสิกส์ของระบบและกระบวนการทางเคมี ตัวอย่างที่เห็นก็เช่น นักเคมีเชิงฟิสิกส์มักสนใจการอธิบายการเปลี่ยนแปลงทางเคมีในเชิงของพลังงาน

ฟิสิกส์คืออะไร

ความอยากรู้อยากเห็นและความช่างสังเกตเป็นพฤติกรรมของมนุษย์ ซึ่งก่อให้เกิดการศึกษา ธรรมชาติที่อยู่รอบตัวเราตั้งแต่อดีตเป็นต้นมาด้วยวิธีการต่างๆ ธรรมชาติเป็นสิ่งที่อยู่ใกล้ตัวเรามากที่สุด และเป็นสิ่งที่น่าสนใจ และน่าเรียนรู้สำหรับทุกคน โดยเฉพาะในการศึกษาค้นคว้าหาความรู้เรื่องเกี่ยวกับปรากฏการณ์ทางธรรมชาติที่เรียกว่า ฟิสิกส์

ฟิสิกส์ (Physics) เป็นวิทยาศาสตร์แขนงหนึ่งที่ศึกษาธรรมชาติของสิ่งไม่มีชีวิต ซึ่งได้แก่ การเปลี่ยนแปลงทางกายภาพ และปรากฏการณ์ต่าง ๆ ที่เกิดขึ้นรอบตัวเรา การค้นคว้าหาความรู้ทางฟิสิกส์ทำได้โดยการสังเกต การทดลองและเก็บรวบรวมข้อมูลมาวิเคราะห์เพื่อสรุปเป็นทฤษฎี หลักการหรือกฎ ความรู้เหล่านี้สามารถนำไปใช้อธิบายปรากฏการณ์ธรรมชาติหรือทำนายสิ่งที่อาจจะเกิดขึ้นในอนาคต และความรู้นี้สามารถนำไปใช้เป็นพื้นฐานในการแสวงหาความรู้ใหม่เพิ่มเติมและพัฒนาคุณภาพชีวิตของมนุษย์


1. ฟิสิกส์ คือ การศึกษากฎธรรมชาติ
2. ฟิสิกส์ คือ วิทยาศาสตร์ที่อธิบายวัตถุและพลังงาน
3. ฟิสิกส์ คือ พื้นฐานของวิทยาศาสตร์ทั้งมวล
4. ฟิสิกส์ คือ ความรู้ที่ได้จากการศึกษาและรวบรวมจากปรากฎการณ์ธรรมชาติ
ฟิสิกส์ คือ วิทยาศาสตร์ที่อาศัยการทดลอง อะไรก็ตามที่ต้องเรียนรู้โลกทางกายภาพ จะเรียนรู้ผ่านการทดลอง

วิทยาศาสตร์คืออะไร

วิทยาศาสตร์ หมายถึง การศึกษาเรื่องราวของธรรมชาติ สิ่งแวดล้อมและปรากฏการณ์ต่าง ๆ อย่างมีระบบด้วยวิธีการทางวิทยาศาสตร์ เพื่อให้ได้มาซึ่งความรู้ทางวิทยาศาสตร์เจตคติทางวิทยาศาสตร์และกระบวนการทางวิทยาศาสตร์ที่มนุษย์จะนำไปใช้ในการปรับปรุงและพัฒนาชีวิตความเป็นอยู่ให้ดีขึ้น


สาขาของวิทยาศาสตร์

1. วิทยาศาสตร์ธรรมชาติ

-ฟิสิกส์
-เคมี
-วิยาศาสตร์โลก
-ชีววิทยา

2.วิทยาศาสตร์ประยุกต์

-วิทยาศาสตร์สุขภาพ
-วิทยาศาสตร์การทหาร
-วิทยาศาสตร์สิ่งแวดล้อมวิทยาศาสตร์สังคม